ตุงล้านนา เป็นอย่างไร

ตุงล้านนา เป็นอย่างไร

ตุง เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่หล่อหลอมมาจากภูมิปัญญาความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรม อันเก่าแก่และงดงามของชาวล้านนา ที่ยังผูกพันและมีบทบาทและอิทธิพลต่อวิถีชีวิตประจำวันของชาวล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหรือตั้งแต่เกิดจนตายความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างตุง หรือทานตุงมีความสัมพันธ์กับพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาและประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา ตุงล้านนา ซึ่งคำว่า ตุง เป็นภาษาถิ่นประจำภาคเหนือ แปลว่าธงที่ใช้สำหรับแขวนแบบหนึ่งในศิลปะล้านนา สามารถพบเห็นได้ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยคนทางภาคเหนือ จะนำตุงมาใช้เป็นเครื่องประดับ หรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทั้งทางศาสนา ประเพณี งานเทศกาล หรืองานเฉลิมฉลองต่างๆ วัตถุที่นำมาทำตุงในล้านนามีหลากหลายรูปแบบ ลักษณะที่แผ่นวัตถุทำจากผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ทองเหลือง หรือใบลาน โดยนำไม้ส่วนปลายแขวนห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา ตามคติความเชื่อของคนล้านนาเกี่ยวกับตุงที่ทำขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ใช้ในงานพิธีทางศาสนา ทั้งในงานมงคลและอวมงคล โดยมีขนาดรูปทรงและรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้าง ตามความเชื่อพิธีกรรม ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น อย่างไรก็ดีคนล้านนามีความเชื่อว่า การถวายหรือทานตุงนั้นจะได้รับผลบุญและอานิสงค์ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขเป็นอย่างมาก หรือบางตำรามีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า เมื่อตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์หรือเมื่อตกนรกชายตุงจะแกว่งฉุดวิญญาณขึ้นมาจากนรกให้ขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ นอกจากนี้การใช้ตุงทางภาคเหนือ ได้ปรากฏหลักฐานตามตำนานพระธาตุดอยตุง โดยกล่าวถึงการสร้างพระธาตุไว้ว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระเจ้าได้นำเอาพระบรมธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้ายขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาถวายแด่พระยาอนุตราชกษัตริย์ลำดับที่ ๓ แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ พระองค์ทรงขอเอาที่แดนของพระยาลาวจก (ราชวงศ์ลวจังคราช) ในหมู่เขาสามเสียงเส้าเป็นที่ก่อสร้างสถูปบรรจุพระบรมธาตุเมื่อจะสร้างพระมหาสถูปนั้นให้ทำ “คุงตะขาบใหญ่” ยาวถึงพันวาปักไว้บนยอดดอยปู่เจ้า หางตุงปลิวไปเพียงใดกำหนดหมายไว้เป็นฐานสถูปเพียงนั้น ประเภทของตุงล้านนา มีมากมายหลากหลายประเภทด้วยกัน […]