ดนตรีและนาฏกรรมล้านนา
เป็นศิลปะการแสดงทางภาคเหนือของประเทศไทย ปรากฏอยู่ในการฟ้อนประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงที่มีความเข้มแข็ง หนักแน่นในแบบฉบับของการตีกลองสะบัดชัยและการตบมะผาบ การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือนอกจะมีลักษณะเป็นแบบพื้นเมืองเดิม ไทยลานนา ไทยใหญ่ เงี้ยวรวมถึงพม่า ผสมกันอยู่แล้ว ยังรวมถึงการแสดงของภาคกลางรวมอยู่ด้วย วงกลองล้านนา เต่งถิ้ง วงเต่งถิ้ง เป็นวงดนตรีประเภทปี่พาทย์ เครื่องดนตรีทุกชิ้นมีเสียงดังมาก ประกอบด้วยเครื่องเป่าและเครื่องตี เครื่องเป่าเป็นเครื่องเป่าประเภทปี่ที่เรียกว่า “แน” มี 2 เลาด้วยกัน คือ แนหน้อย (ขนาดเล็ก) และแนหลวง(ขนาดใหญ่) ส่วนเครื่องตีไก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม(เรียก-ป้าดไม้) ระนาดเอกเหล็ก (เรียกป้าดเหล็ก) ฆ้องวงใหญ่ (เรียกกลองป่งโป้ง)และกลองใหญ่คล้ายตะโพนมอญ (เรียกกลองเต่งถิ้ง) ชื่อวง “เต่งถิ้ง” ได้จากเสียงกลองใหญ่ที่ดัง “เต่ง- ถิ้ง” โอกาสที่บรรเลงมีหลายโอกาส ได้แก่ งานบุญงานวัด แห่ขบวน งานศพ งานฟ้อนผี นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงประกอบการชกมวย การฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบและฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตาอีกด้วย มองเซิง มองเซิง เป็นวงกลองพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่ เป็นที่นิยมกันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง […]