ประเพณีของภาคเหนือ
เดิมวัฒนธรรมล้านนา มีศูนย์กลางที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่ ตามชื่อของอาณาจักรที่แบ่งการปกครองแบบนครรัฐ ซึ่งตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพญาเม็งราย วัฒนธรรมภาคเหนือ ภาคเหนือมีลักษณะเป็นเทือกเขา สลับกับที่ ราบ ผู้คนจะกระจายตัวอยู่เป็นกลุ่ม มีวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง แต่ก็มีการ ติดต่อระหว่างกัน วัฒนธรรมของภาคเหนือหรือ อาจเรียกว่า “กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา” ซึ่งเป็น วัฒนธรรมเก่าแก่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้ง สำเนียงการพูด การขับร้อง ฟ้อนรำ หรือการจัด งานฉลองสถานที่สำคัญที่มีแต่โบราณ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ วัดเจดีย์หลวง เป็นต้น วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี ชาวเหนือหรือที่เรียกกันว่า “ชาวล้านนา” มีความเชื่อในเรื่องการนับถือผีตั้งแต่เดิม โดย เชื่อว่าสถานที่แทบทุกแห่ง มีผีให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ความเชื่อนี้จึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เห็นได้ จากขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ ของชาว เหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย ผีที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา […]
การ แสดง พื้นเมือง ภาค เหนือ
การเเสดงพื้นเมือง การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ศิลปะการแสดงทางภาคเหนือ เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยลานนา ไทยใหญ่ เงี้ยว รวมถึงพวกพม่าที่เคยเข้ามาปกครองล้านนาไทย ทำให้นาฏศิลป์หรือการแสดงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือมีความหลากหลาย แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฮพาะที่แสดงถึงความนุ่มนวลของท่วงท่า และทำนองเพลงประกอบกับความไพเราะของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด สี ตี เป่า ที่มีความเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็น เป้ยะ สล้อ ซอ ซึง และกลอง ที่ปรากฏอยู่ในการฟ้อนประเภทต่างๆ รวมทั้งการแสดงที่มีความเข้มแข็ง หนักแน่นในแบบฉบับของการตีกลองสะบัดชัย และการตบมะผาบ การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือนอกจะมีลักษณะเป็นแบบพื้นเมืองเดิม ไทยลานนา ไทยใหญ่ เงี้ยวรวมถึงพม่า ผสมกันอยู่แล้ว ยังมีลักษณะการแสดงของภาคกลางรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชายา พระนามว่าเจ้าดารารัศมี พระราชธิดาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และเจ้าแม่ทิพเกสร เจ้าเมืองเชียงใหม่ ทำให้อิทธิพลการแสดงของภาคเหนือในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมีมีลักษณะของภาคกลางปะปนอยู่บ้าง ทำให้สามารถแบ่งลักษณะการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือได้เป็น 3 ลักษณะลักษณะการฟ้อนแบบพื้น 1. เมืองเดิม เป็นการแสดงที่มีอยู่ตามท้องถิ่นทั่วไป เช่น ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น 2. ลักษณะการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลจากชาติอื่น อาทิ พม่า […]
ประเพณีปี๋ใหม่เมือง
สงกรานต์งานประเพณี ถือเป็นช่วงแรกของการเริ่มต้นปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์งานประเพณี โดยแบ่งออกเป็นวันที่ 13 เมษายน หรือวันสังขารล่อง ถือเป็นวันสิ้นสุดของปี โดยจะมีการยิงปืน ยิงสโพก และจุดประทัดตั้งแต่ก่อนสว่างเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดี วันนี้ต้องเก็บกวาดบ้านเรือน และ ทำความสะอาดวัด ประเพณีปี๋ใหม่เมือง วันที่ 13 เมษายน วันแรกของประเพณีสงกรานต์ เรียกว่า “วันสังขานต์ล่อง” หรือ วันสังขารล่อง หรือ วันสังกรานต์ล่อง ซึ่ง “สังขานต์” คือคำว่า “สงกรานต์” ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “ก้าวล่วงแล้ว” สื่อความหมายถึงอายุของคนเราที่ล่วงเลยไปอีกปี ในตอนเช้าชาวบ้านจะยิงปืนหรือจุดประทัด เพื่อเป็นการขับไล่สิ่งชั่วร้ายในปีเก่าให้พ้นไป จากนั้นจะเริ่มทำความสะอาดบ้านเรือน ทำความสะอาดร่างกายและแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าใหม่ เพื่อต้อนรับปีใหม่ วันที่ 14 เมษายน วันแรกของประเพณีสงกรานต์ เรียกว่า “วันสังขานต์ล่อง” หรือ วันสังขารล่อง หรือ วันสังกรานต์ล่อง ซึ่ง “สังขานต์” คือคำว่า “สงกรานต์” ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “ก้าวล่วงแล้ว” […]