ลิ้มรส Local Food ไทยแท้ ในบรรยากาศบ้านไม้เรียบง่ายแต่มีเสน่ห์
Local Food Local food หรืออาหารท้องถิ่นคืออาหารที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละพื้นที่ โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ผักพื้นบ้าน ผลไม้ตามฤดูกาล เนื้อสัตว์ หรือสมุนไพรที่เป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาคนั้น อาหารเหล่านี้มักปรุงด้วยวิธีการแบบดั้งเดิมที่ถ่ายทอดกันมารุ่นสู่รุ่น เช่น การหมัก การย่าง หรือการต้ม ซึ่งช่วยสร้างรสชาติและเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร รสชาติของอาหารท้องถิ่นแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เช่น ภาคเหนือจะมีรสกลมกล่อมและหอมสมุนไพร ภาคอีสานเน้นรสจัดจ้านและเปรี้ยวจากมะนาวหรือมะขาม ภาคกลางมีความหลากหลายและรสชาติกลมกล่อม ส่วนภาคใต้จะมีรสเผ็ดจัดและเข้มข้น นอกจากความอร่อย อาหารท้องถิ่นยังมีความสำคัญในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละพื้นที่ อาหารท้องถิ่นช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน โดยการสนับสนุนเกษตรกรและผู้ผลิตในพื้นที่ อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งวัตถุดิบระยะไกล และส่งเสริมความยั่งยืนทางอาหาร การสนับสนุนอาหารท้องถิ่นจึงเป็นการสนับสนุนวิถีชีวิตของชุมชนไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ในระยะยาว Local food refers to cuisine that reflects the culture and way of life of people in specific areas. It is made using locally sourced ingredients, […]
4 อาหารเหนือที่หากินยาก
4 อาหารเหนือที่หากินยาก วัตถุดิบสดใหม่ที่เติบโตในดินแดนแห่งนานับล้าน (ล้านนา) ถูกเก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นอาหารเรียบง่าย แต่ดีต่อลิ้นและใจ ไข่ป่าม/ป่ามไข่/อ็อกไข่ จานโปรดชาวเหนือตลอดกาลจานนี้ทำง่ายมาก ถ้าคุณทำไข่เจียวเป็น ไข่ป่ามทำง่ายยิ่งกว่า (ในความคิดเรา) แค่ตอกไข่ไก่หรือเป็ด โรยต้นหอม พริกหยวกแดง เกลือ ตีให้เข้ากัน เสร็จแล้วเทลงกระทงใบตอง นำไปย่างบนเตาถ่านจนสุกเป็นสีเหลืองทอง คุณก็จะได้อาหารเช้าร้อน ๆ ปูอ่อง/ปู๋อ่อง คำว่า “อ่อง” ที่เจอในชื่อเมนูหลากหลายเป็นวิธีทำอาหารท้องถิ่นเหนืออย่างหนึ่ง เทียบได้กับการทำให้วัตถุดิบข้นขึ้นอย่างช้า ๆ (reduction) สำหรับเมนูปูอ่อง พ่อครัวแม่ครัวจะนำมันปูนามาปรุงรส เติมไข่ ตักใส่กระดองปู แล้วนำไปปิ้งบนเตาไฟเพื่อ “อ่อง” จนได้ที่ รอไม่นานก็ได้ปูอ่องข้นมัน ส้ามะเขือ ภาคกลางเรียกเมนูที่นำวัตถุดิบต่าง ๆ มาผสมรวมกันว่า “ยำ” ส่วนชาวเหนือจะเรียกว่า “ส้า” ส้ามะเขือเป็นเมนูที่ขึ้นชื่อ ผสานมะเขือขื่น (คนเหนือเรียกมะเขือแจ้) กับวัตถุดิบกระตุ้นต่อมน้ำลายอีกมากมาย เมนูนี้ยังเป็นการชูมะเขือที่มักเป็นแค่ผักเคียงให้เป็นดาวเด่นอีกด้วย วิธีทำก็ไม่ยาก ฝานมะเขือเป็นชิ้นบาง ๆ เตรียมไว้ จากนั้น ตั้งกระทะผัดเครื่องแกง พร้อมกระเทียม ใส่หมูสับลงไปผัดพร้อมกันเพื่อช่วยตัดรสเครื่องแกงอันจัดจ้าน […]
อาหารเหนือกับภูมิปัญญาล้านนา
อาหารเหนือกับภูมิปัญญาล้านนา ภูมิประเทศของภาคเหนืออุดมไปด้วยผืนป่าเขียวขจีและหุบเขากว้างไกล ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบธรรมชาติอย่างดีให้ชาวเหนือนำมาใช้ประกอบอาหาร บางอย่างก็กลายเป็นสิ่งคู่ครัวล้านนาที่ขาดไม่ได้ จุดเด่นอย่างหนึ่งของครัวล้านนา คือการนำทรัพยากรท้องถิ่นอันหลากหลายมารังสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นไม้สักเนื้อแข็ง ไม้ไผ่ที่โตเร็ว ไปจนถึงแร่ธาตุจากดินภูเขาอันอุดม ชาวเหนือนำธรรมชาติมารังสรรค์เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองมาอย่างยาวนาน ซึ่งสัมผัสได้ผ่านครัวในบ้าน ไปจนถึงจานอร่อยในร้านอาหาร เซรามิก ดินภาคเหนืออุดมไปด้วยแร่เคโอลิไนต์ (Kaolinite) ซึ่งเป็นแร่ดินเหนียวที่ทำให้ดินมีสีขาว และหนึ่งในผลิตภัณฑ์เซรามิกภาคเหนือที่ทุกคนต้องนึกถึงก็คือชามตราไก่ ผลิตภัณฑ์จากผลงานวาดมือที่ทำจากแหล่งดินขาวอย่างจังหวัดลำปาง ชามชนิดนี้แข็งแกร่ง ทนร้อน ผู้คนนิยมนำมาใส่อาหารกันเป็นนิจทั่วทุกภาคไทย รวมไปถึงข้าวซอยและขนมจีนน้ำเงี้ยว ส่วนรูปไก่บนชามนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากชามลายไก่ที่นำเข้าจากประเทศจีนในอดีต ครก เชฟชาลี กาเดอร์ แห่งร้าน 100 Mahaseth (รางวัลบิบ กูร์มองด์) กล่าวว่า “ครกถือเป็นจุดกำเนิดของสูตรอาหารมากมาย ใช้ตำหรือบดเครื่องเทศ สมุนไพร ข้าว และวัตถุดิบอื่น ๆ เพื่อทำทั้งพริกแกง เครื่องเคียง น้ำพริก ไม่ว่าจะเป็นครกไม้ ครกดินเผา หรือครกหินต่างก็มีวิวัฒนาการเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอันยาวนานของเราไปแล้ว” ในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา ครกและสากกลายเป็นเครื่องครัวที่ชาวเหนือนิยมใช้ โดยทั่วไปแล้ว ครกหินใช้ตำเครื่องแกงฮังเล หรือน้ำพริกอ่อง ส่วนครกไม้และดินมักใช้ทำตำต่าง ๆ คล้ายกับที่ชาวอีสานใช้ทำส้มตำ ใบไม้ห่ออาหาร […]